เพราะนอกจากอาจไม่แก้ปัญหาแล้ว จะกลายเป็นสร้างปัญหาเพิ่ม และเมื่อมองอีกมุมที่พิเคราะห์อีกหน่อย เรื่องนี้อาจตัดสินใจบนแนวคิดแบบหนึ่งได้ว่า การที่เราเอาความรู้สึกไปแขวนไว้กับคนที่น่ารำคาญคนนั้น มันไม่คุ้มค่าเลย เช่น ออฟฟิศมีคนสัก 7-8 คนแต่เราไปจดจ่อ (focus) ที่คน ๆ เดียวเราก็เหมือนไม่เห็นค่าคน 6-7 คนที่ดีหรือนำพาสิ่งแย่ ๆ จากคนเดียวมาบดบัง 6-7 คนที่เหลืออย่างน่าเสียดาย และมองลึกลงไปอีกก็อาจคิดได้ว่า แท้แล้วไม่มีอะไรสมบูรณ์ ไม่ว่าจะจำนวนหลายคน หรือจากคน ๆ เดียว ย่อมมีสิ่งที่รบกวนจิตใจเราบ้าง และบางทีตัวเราเองอาจมีความน่ารำคาญ กวนใจคนอื่นอยู่โดยไม่รู้ตัวได้เหมือนกัน เพียงแต่คนอื่นนั้นเขาแค่ “ยอมรับ” เราได้… ก็ไม่แน่นะ…
ในอีกกรณีสมมติ กับเรื่องคล้ายเดิมในที่ทำงาน แต่ไม่ใช่แค่น่ารำคาญ กลับกลายเป็นเราทราบว่าเขากำลังทุจริต ไม่ซื่อตรง เพียงแต่ถ้าการแจ้ง/ร้องเรียนมันง่าย ก็อาจไม่ใช่ปัญหา สรุปง่าย ๆ คือ ถ้าเราโวยวาย มันต้องเป็นเรื่องใหญ่โต อาจมีผลที่คาดเดายาก เช่นนี้ เราควรยอมรับด้วยการวางเฉย หรือ ลุกขึ้นมาต่อต้าน…
ผลลัพธ์ของทางเลือกเรื่องนี้ หากไม่ยอมรับ ลุกมาทำอะไรบางอย่างจนสำเร็จ ย่อมทำให้เกิดความยุติธรรมโดยทั่วกัน แต่ถ้าไม่สำเร็จ อาจมีความเสี่ยงระดับอันตรายต่อตนก็เป็นได้ ทั้งหน้าที่การงาน และความปลอดภัย แต่ถ้าปล่อยผ่านเบื้องต้นมันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น โดยอย่างยิ่งถ้าเราถูกระบอบเหล่านี้กลืนกินไปแล้วให้เป็นเรื่องธรรมดา แต่สำหรับบางคนที่แอบไม่ยอมรับแม้จะไม่ทำอะไรแต่ภายในใจย่อมไม่มีวันสบายใจได้เลย
จุดเริ่มคิดก็คล้ายกันอาจต้องวัดดูว่าคุ้มไหม การเสียสละเสี่ยงเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ส่วนรวม เพราะต่อให้ตอนนี้ยังไม่มีผลอะไรกับเราโดยตรง แต่ในระยะยาวแล้ว ทุกอย่างย่อมเกี่ยวเนื่องและส่งผลได้ ในเมื่อเราเป็นส่วนหนึ่งขององค์กรนั้น ๆ การทุจริตย่อมไม่ดี แม้ดูว่าน่าจะต้องทำอะไรสักอย่าง แต่สำหรับบางคนก็บอกว่า ยังไงมันก็ไม่คุ้ม…
จากทั้ง 2 กรณี ระหว่างคนน่ารำคาญ กับ คนทุจริต เบื้องต้นยากที่จะ เพราะต่อให้เป็นแค่เรื่องน่ารำคาญ แต่หากเรารู้สึกว่าต้องทน บางทีมันก็ถูกที่ไม่จำเป็นต้องทน หรือในเรื่องทุจริตที่มันดูแย่จริง ๆ บางทีมันก็ไม่คุ้มที่จะเสี่ยงไปแลก ซึ่งปัจจัยเบื้องต้นย่อมเป็นการพิจารณา “การเปลี่ยนแปลง” ทั้งระยะสั้นและระยะยาวกับสิ่งที่เราเลือก
แต่ข้อเสริมคงเป็นเรื่องของ “เวลา” เพราะดังเช่นกรณีความทุจริต อาจจำเป็นต้อง “ยอมรับ” ไปก่อนในตอนแรกจนกว่า “เวลา” จะเหมาะสมพอที่ให้ “ต่อต้าน” หรือ “ร่วมสู้” เพื่อที่จะได้ลดความเสี่ยง หรือเอาตัวไปเสี่ยงแบบสิ้นคิด ซึ่งบางคนก็บอกว่า ออกจากที่นี่ไปให้เวลาจัดการมันเองโดยที่เราไม่ต้องทน นั่นก็ด้านหนึ่ง…
ปัจจัยต่าง ๆ ในชีวิตคนเราก็อาจเป็นเช่นนี้ ต้องรู้จักยอมรับในบางเวลา และไม่ควรยอมรับเมื่อมันถึงเวลา การตัดสินใจอะไรแบบเด็ดขาดอาจดีในบางเรื่อง แต่อาจไม่ได้ผลดีที่สุดในหลายเรื่องเช่นกัน เพราะเราต่างรู้กันดีว่าการใช้เพียงความรู้สึก หรือเอาตัวเองเป็นบรรทัดฐานนั้น อาจไม่ได้ผลลัพธ์ดีที่สุดเสมอไป “ปัญญา” คือตัวชี้นำ..
และเมื่อเราเข้าใจตัวแปรได้ครบ กล่าวโดยสรุปคือ ไม่ใช่แค่ยอมรับหรือไม่ แต่ประเมิน “เวลาไหน, โดยใคร, สถานการณ์จุดไหน” เป็นแง่คิดเพิ่มอาจช่วยให้เราตัดสินใจอะไรได้ดีกว่าเดิม โดยอย่างยิ่งแง่ “เวลา” เช่น เวลานี้ ควรยอมรับไปก่อน หรือเวลานี้ไม่ควรยอมรับ แต่ควรฉวยโอกาสจัดการบางเรื่อง เช่นนี้เชื่อว่า น่าจะได้ผลดีกว่าเพียงแค่โจทย์ในใจงว่า “ยอมรับ หรือทำไมต้องรับ” อย่างมากมาย
โพสต์โดย : bewtee เมื่อ 22 ก.ค. 2567 14:16:43 น. อ่าน 23 ตอบ 0